วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

  
หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
อิทธิบาท มายถึง ข้อปฏิบัติให้ถึงความสำเร็จ มี ๔ ประการ คือ
         ๑. ฉันทะ  ความพอใจในงานที่ทำหรือในสิ่งที่จะศึกษาเล่าเรีย
         ๒. วิริยะ  ความเพียรพยายามทำงานให้สำเร็จไม่ย่อท้อต่อการทำงาน
         ๓. จิตตะ  ความเอาใจใส่ในการทำงาน ตั้งใจทำงานอย่างสม่ำเสมอ
         ๔. วิมังสา  ความคิดรอบคอบ ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรอง
งานที่ทำว่ามีข้อบกพร่องอะไรที่ควรแก้ไขหรือควรเพิ่มเติมอะไรซึ่งจะทำให้งานนั้นดีขึ้น
อริยสัจ 4  แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา  เพราะเป็นคำสอนที่จะช่วยให้บุคคลรอดพ้นจากความทุกข์เพื่อสู่นิพพาน ได้แก่
         1. ทุกข์    หมายถึง สภาพที่ทนได้ยากทั้งร่างกายและจิตใจ
         2. สมุทัย หมายถึง เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา( ความอยาก)
         3. นิโรธ  หมายถึง ความดับทุกข์ คือ ให้ดับที่เหตุ 
         4. มรรค  มีองค์ 8 หนทางแห่งการดับทุกข์
มรรค คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้
         1.สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง การ    ปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
         2.สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
         3.สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ พูดในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
         4.สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงามทางกายกิจกรรมทางกายทั้งปวง
         5.สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตไม่คดโกง เอาเปรียบผู้อื่น
         6.สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
         7.สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกต
         8.สัมมาสมาธิ คือการฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลสนิวรณ์อยู่เป็น




พรหมวิหาร 4 ธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ ผู้ปกครอง พ่อแม่ จำเป็นต้องมีไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับดำเนินชีวิต ได้แก่
         1. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาจะให้เป็นสุข
         2. กรุณา ความสงสาร ต้องการที่จะช่วยบุคคลอื่น สัตว์อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์
         3. มุทิตา ความชื่นชมยินดีเมื่อเห็นบุคคลอื่นเขาได้ดี
         4. อุเบกขา ความวางเฉยไม่ดีใจไม่เสียใจ เมื่อบุคคลอื่นประสบความวิบัติ

สังคหวัตถุ 4 หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจคน
         1. ทาน การให้
         2. ปิยวาจา การกล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
         3. อัตถจริยา การบำเพ็ญประโยชน์
         4. สมานัตตตา การประพฤติตนสม่ำเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ฆราวาสธรรม ๔ หมายถึง หลักธรรมที่ผู้ครองเรือนควรปฏิบัติ มี ๔ ประการ 
         ๑. สัจจะ คือ ความซื่อสัตย์ ความจริงใจ ความซื่อตรงต่อกัน
         ๒. ทมะ คือ การข่มใจ การฝึกฝนตนเองไม่ให้ประพฤติชั่ว
         ๓. ขันติ คือ ความอดทน หมายถึง ความอดทนต่อสิ่งที่ไม่ดี อดทนต่อความยากลำบาก
         ๔. จาคะ คือ การเสียสละ การแบ่งปันสิ่งของให้แก่ผู้อื่น 
สัปปุริสธรรม 7  หลักธรรมของคนดี หรือคุณสมบัติของคนดี
         1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ
         2. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล
         3. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน
         4. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
         5. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา
         6. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน
         7. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกคบคนดี
ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะทั่วไปของสิ่งทั้งปวง
         1. อนิจจตา หรือ อนิจจัง ความไม่คงที่ ไม่เที่ยง ไม่ถาวร ไม่แน่นอน
         2. ทุกขตา หรือ ทุกขัง สภาพที่อยู่ในสภาวะเดิมไม่ได้ ต้องแปรปรวนไป
         3. อนัตตา ความไม่ใช่ตัวตนแท้จริง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
ไตรสิกขา
         ศีล              สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ
         สมาธิ          สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
         ปัญญา        สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ

       
       








  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น